ท่าที่ใช้ในการแข่งขัน

1. ท่าสแนทช์

               1.1 คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานยกต้องจับโดยการคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงขึ้นจากพื้นในจังหวะเดียว ให้แขนทั้งสองเหยียดตรงสุดอยู่เหนือศีรษะ ในขณะที่ขาทั้งสองข้างแยกออกจากกันหรืองอเข่าย่อตัวลง ในระหว่างการยกอย่างต่อเนื่องนั้น คานยกอาจเคลื่อนที่ฝ่ายหน้าขาหรือตักก็ได้และส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจะสัมผัสพื้นไม่ได้ นอกจากเท้าทั้งสองข้างเท่านั้น ตำแหน่งสุดท้ายในการยกด้วยท่าสแนทช์ แขนและขาต้องเหยียดตรง ปลายเท้าทั้งสองข้างต้องอยู่ในแนวเดียวกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในลักษณะนี้จนกว่าผู้ตัดสินจะให้สัญญาณวางคานยกลงบนพื้นได้ การพลิกข้อมือจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ยกคานยกพ้นศีระษะไปแล้วเท่านั้น และนักกีฬาจะจัดท่ายืนใหม่จากท่ายืนแยกขา หรือท่าย่อตัวเพื่อให้เท้าทั้งสองอยู่ในแนวที่ขนานกับลำตัวและคานยกได้ภายในเวลาไม่จำกัด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณวางคานยกลงพื้นได้ในทันที เมื่อเห็นว่าทุกส่วนขอร่างกายนิ่ง

2. ท่าคลีนแอนด์เจอร์ค

                2.1 จังหวะที่ 1 การคลีน คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานยกจำคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงคานยกจากพื้นสู่ระดับไหล่ด้วยการเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียวในขณะที่ยืนแยกขาหรืองอเข่าลง ระหว่างการดึงคานยกขึ้นสู่ระดับไหล่นี้ คานยกอาจเคลื่อนที่ผ่านตามหน้าขาหรือตักได้ และคานยกต้องไม่แตะหน้าอกก่อนจะถึงลักษณะสุดท้ายคือ การวางพักคานยกไว้ที่ไหปลาร้าบนหน้าอกเหนือราวนม หรือบนแขนที่งอสุด เท้าทั้งสองกลับไปอยู่ในแนวเดียวกันขาทั้งสองเหยียดตรงก่อนที่จะเจอร์ค (คือ การยกน้ำหนักให้แขนทั้งสองเหยียดตรง) นักยกน้ำหนักจะสามารถจัดตำแหน่งให้อยู่ในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่กำหนดเวลาและต้องวางเท้าทั้งสองให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยขนานกับคานยกและลำตัว
        
2.2 จังหวะที่ 2 การเจอร์ค นักยกน้ำหนักงอเข่าลงทั้งสองข้าง แล้วเหยียดขาพร้อม ๆ กันเหยียดแขนตรงเพื่อยกคานยกขึ้นสู่แนวดิ่ง โดยที่แขนทั้งสองเหยียดตรงเต็มที่ นักยกน้ำหนักชักเท้าทั้งสองกลับให้มาอยู่ในแนวเดียวกัน ในขณะที่ขาและแขนทั้งสองยังเหยียดตรงอยู่ แล้วคอยสัญญาณให้วางคานยกลงได้จากผู้ตัดสิน โดยผู้ตัดสินจะส่งสัญญาณให้ลดคานยกลงได้ทันทีที่เห็นว่านักยกน้ำหนักยืนนิ่งปราศจากการเคลื่อนไหว

สิ่งสำคัญที่ควรทราบ หลังจากการยกท่าคลีน และก่อนที่จะยกท่าเจอร์ค นักยกน้ำหนักสามารถตรวจสอบ การจัดตำแหน่งของคานยกได้ แต่การนี้ต้องไม่ทำให้เกิดความสับสน และเข้าใจผิดขึ้นได้ การยอมให้จัดตำแหน่งของคานยก มิได้หมายความว่า ยอมให้นักยกน้ำหนักใช้จังหวะที่สองได้อีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ยอมให้นักยกน้ำหนักปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังต่อไปนี้

- กดหรือไม่กดหัวแม่มือได้ตามวิธีที่เขาถนัด

- ลดคานยกลงมาพักไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้าง ในกรณีที่คานยกอยู่ในระดับสูงเกินไป ทำหใหายใจไม่สะดวก หรือทำให้เกิดความเจ็บปวด

- เปลี่ยนความกว้างของมือที่จับคานยก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ในการแข่งขันยกน้ำหนักแต่ละครั้ง

กติกายกน้ำหนัก

ความเป็นมากีฬายกน้ำหนัก