อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน



อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันยกน้ำหนัก
1. คานยก

1.1 ให้ใช้คานยกตามคุณสมบัติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ เพื่อใช้ในการแข่งขันได้เท่านั้น

1.2 คานยกต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

ก. คานยก

ข. แผ่นเหล็ก

ค. ปลอกยึด

คานยก ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

- หนัก 20 กิโลกรัม

- ยาว 2,200 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร

- เส้นผ่าศูนย์กลางของคาน 28 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-0.03 เมตร ตรงส่วนที่เรียบ

- เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปลายคาน 50 มิลลิเมตร ยอมให้เคลื่อนได้ +/-0.2 มิลลิเมตร

- ระยะระหว่างปลอกยึดด้านในทั้งสองข้าง 1,310 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อน +/-0.5 มิลลิเมตร

- ความกว้างของปลอกยึดปลอกด้านในเท่ากับ 30 มิลลิเมตร คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร

- เพื่อให้จับได้มั่นมือ และเพื่อแสดงตำแหน่งมือของนักยกน้ำหนักคานยกต้องกลึงลายตรงจุดที่แสดงในภาพที่ 1

แผ่นเหล็ก ต้องมีลักษณะตามข้อกำหนดดังนี้

- น้ำหนักและสีต่าง ๆ ของแผ่นเหล็ก มีดังนี้

แผ่นเหล็ก 25 กิโลกรัม สีแดง

แผ่นเหล็ก 20 กิโลกรัม สีน้ำเงิน

แผ่นเหล็ก 15 กิโลกรัม สีเหลือง

แผ่นเหล็ก 10 กิโลกรัม สีเขียว

แผ่นเหล็ก 5 กิโลกรัม สีขาว

แผ่นเหล็ก 2.5 กิโลกรัม สีดำ

แผ่นเหล็ก 1.25 กิโลกรัม สีเงิน (โครเมียม)

แผ่นเหล็ก 0.5 กิโลกรัม สีเงิน (โครเมียม)

แผ่นเหล็ก 0.25 กิโลกรัม สีเงิน (โครเมียม)

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผ่นใหญ่ที่สุด 450 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร

- เส้นผ่าศูนย์กลาง 450 มิลลิเมตร ให้วัดรวมทั้งยางหรือพลาสติกที่ใช้เคลือบ หรือฉาบด้วยสีชนิดถาวร หรือสีซึ่งทาไว้ที่ขอบจาน

- แผ่นเหล็กที่หักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม อาจทำด้วยโลหะเพียงอย่างเดียวก็ได้

- แผ่นเหล็กทั้งหมดจะต้องมีตัวเลขบอกน้ำหนักที่เห็นได้ชัดเจน

ปลอกยึด คานยกแต่ละชุดจะต้องมีปลอกยึด 2 ตัว เพื่อยึดแผ่นเหล็กให้ติดแน่นกับคาน ปลอกยึดแต่ละตัวหนัก 2.5 กิโลกรัม

1.3 อุปกรณ์ที่กำหนดให้มีน้ำหนักเกินกว่า 5 กิโลกรัม ขึ้นไปอนุโลมให้น้ำหนักเกินได้ 0.1 เปอร์เซ็นต์ และให้น้ำหนักขาดได้ 0.05 เปอร์เซ็นต์ สำหรับส่วนประกอบที่กำหนดน้ำหนักไว้ 5 กิโลกรัม หรือน้อยกว่า อนุโลมหใน้ำหนักเกินได้ 10 กรัม แต่ะจน้อยกว่าน้ำหนักที่กำหนดไว้ไม่ได้

1.4 การใส่แผ่นเหล็ก ต้องประกอบแผ่นที่ใหญ่ที่สุดไว้ในสุด แล้วจึงใส่แผ่นเหล็กที่มีขนาดเล็กลงตามลำดับ และต้องประกอบให้ตัวเลขบอกน้ำหนักของแผ่นเหล็กหันไปทางปลายคานยก เพื่อให้กรรมการตัดสินอ่านตัวเลขบอกน้ำหนักของแผ่นเหล็กแต่ละแผ่นได้ เมื่อใส่แผ่นเหล็กถูกต้องแล้ว ต้องขันปลอกยึดแผ่นเหล็กให้แน่นทุกครั้ง

2. พื้นสำหรับการแข่งขัน

2.1 การแข่งขันยกน้ำหนักต้องกระทำบนพื้นสำหรับการแข่งขัน

2.2 พื้นสำหรับการแข่งขัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร หากพื้นโดยรอบเวทีมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นสำหรับการแข่งขัน ต้องตีเส้นด้วยสีที่แตกต่างกว้างอย่างน้อย 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) ไว้ที่ขอบบนสุดของพื้นการแข่งขัน

2.3 พื้นสำหรับการแข่งขัน อาจทำด้วยไม้หรือพลาสติก หรือวัสดุผสม และปูด้วยวัสดุกันลื่น

2.4 ความสูงของพื้นแข่งขันจะสูงได้ระหว่าง 50-150 มิลลิเมตร

3. ระบบไฟฟ้าตัดสิน

3.1 ระบบสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดสิน ประกอบด้วย

- กล่องควบคุมสำหรับผู้ตัดสิน 3 คน คนละ 1 กล่อน กล่องควบคุมนี้ประกอบด้วยปุ่มกดสำหรับการตัดสิน 2 ปุ่ม คือ ปุ่มสีแดง และปุ่มสีขาว และมีปุมสัญญาณอีก 1 ปุ่ม

- เครื่องให้สัญญาณเอาเหล็กลงที่เป็นแบบโสตทัศน์ ติดอยู่บนขาตั้งทางด้านหน้าของเวทีการแข่งขัน

- ไฟสัญญาณแสดงผลการตัดสิน จะติดตั้งไว้ในแนวนอน ซึ่งประกอบด้วย หลอดไฟสีขาว 3 ดวง สีแดง 3 ดวง อย่างน้อย 2 ชุด เพื่อให้นักยกน้ำหนักและผู้ชมทราบผลการตัดสินของผู้ตัดสิน

- แผงควบคุม 1 ชุด หรือมากกว่า ประกอบด้วยหลอดไฟสีแดง 3 ดวง และสีขาว 3 ดวง หลอดไฟเหล่านี้จะต้องส่งแสงออกมาทันที เมื่อผู้ตัดสินกดปุ่มบังคับตามสีที่ต้องการ แผงควบคุมเหล่านี้วางไว้บนโต๊ะของคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ซึ่งต้องมีเครื่องส่งสัญญาณเรียกผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่ง หรือทุกคนให้มายังโต๊ะของกรรมการควบคุมการแข่งขัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ในการแข่งขันยกน้ำหนักแต่ละครั้ง

กติกายกน้ำหนัก

ความเป็นมากีฬายกน้ำหนัก