บทความ

ความเป็นมากีฬายกน้ำหนัก

รูปภาพ
    ความเป็นมาของกีฬายกน้ำหนัก    กีฬายกน้ำหนัก   ในยุคเริ่มต้นไม่ได้เป็นกีฬาอย่างที่เข้าใจกันในปัจจุบัน สังคมในยุคโบราณ จะมีเรื่องราวของการท้าทาย การต่อสู้ หรือการแข่งขันของกลุ่มชนเผ่าเดียวกัน หรือต่างเผ่า ซึ่งดูเป็นเรื่องปกติ ทั่วไป คนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ต่างพยายามแสดงออกถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของตนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นความพยายามที่ต้องการแสดงออกว่าใครแข็งแรงกว่ากัน วิธีการวัดความแข็งแรงในสมัยนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การแบกลูกวัว การยกถุงทราย การยกหิน หรือการยกเหล็ก เป็นต้น รูปแบบวิธีวัดความแข็งแรงของร่างกายในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้พัฒนารูปแบบท่า ทางในการยกที่แตกต่างกันออกไป           จากบันทึกในตำนานขอ งกรีก สามารถยืนยันได้ถึงการแข่งขันความแข็งแรงของคนในสมัยโบราณว่า ผู้ที่แข็งแรงที่สุดในสมัยนั้น คือ มิโลแห่งโครตัน (Milo of Croton) ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถชนะ           การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคโบราณถึงหกครั้งด้วยกัน มิโลแห่งโครตันมีวิธีการฝึกให้คนมีความแข็งแรง ด้...

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน

รูปภาพ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันยกน้ำหนัก 1. คานยก 1.1 ให้ใช้คานยกตามคุณสมบัติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ เพื่อใช้ในการแข่งขันได้เท่านั้น 1.2 คานยกต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้ ก. คานยก ข. แผ่นเหล็ก ค. ปลอกยึด คานยก ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ - หนัก 20 กิโลกรัม - ยาว 2,200 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร - เส้นผ่าศูนย์กลางของคาน 28 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +/-0.03 เมตร ตรงส่วนที่เรียบ - เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปลายคาน 50 มิลลิเมตร ยอมให้เคลื่อนได้ +/-0.2 มิลลิเมตร - ระยะระหว่างปลอกยึดด้านในทั้งสองข้าง 1,310 มิลลิเมตร ยอมให้คลาดเคลื่อน +/-0.5 มิลลิเมตร - ความกว้างของปลอกยึดปลอกด้านในเท่ากับ 30 มิลลิเมตร คลาดเคลื่อนได้ +/-1 มิลลิเมตร - เพื่อให้จับได้มั่นมือ และเพื่อแสดงตำแหน่งมือของนักยกน้ำหนักคานยกต้องกลึงลายตรงจุดที่แสดงในภาพที่ 1 แผ่นเหล็ก ต้องมีลักษณะตามข้อกำหนดดังนี้ - น้ำหนักและสีต่าง ๆ ของแผ่นเหล็ก มีดังนี้ แผ่นเหล็ก 25 กิโลกรัม สีแดง แผ่นเหล็ก 20 กิโลกรัม สีน้ำเงิน แผ่นเหล็ก 15 กิโลกรัม สีเหลือง แผ่นเหล็ก 10 กิโลกรัม สีเขียว แผ่นเหล็ก 5 กิ...

ในการแข่งขันยกน้ำหนักแต่ละครั้ง

รูปภาพ
การเข้าแข่งขัน 1.1 ในการแข่งขันยกน้ำหนักแต่ละครั้ง ต้องมีการประชุมเกี่ยวกับเทคนิคก่อนที่จะมีการแข่งขันครั้งแรก 1 วัน ในการแข่งขันครั้งสำคัญ ต้องมีการประชุมด้านเทคนิคให้ทันเวลาก่อนการแข่งขัน และต้องระบุวันที่และเวลาไว้ในหนังสือเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน 1.2 จำนวนนักกีฬาที่จะเข้าร่วมการแข่งขันได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 3 1.3 การกำหนดรายชื่ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน จะกระทำเป็นขั้นสุดท้ายในการประชุมเทคนิค โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ น้ำหนักตัว รุ่นที่เข้าแข่งขัน วันเกิด และสถิติรวมที่ทำได้ดีที่สุดของนักยกน้ำหนักแต่ละคน หลังจากการเสนอชื่อนักกีฬาแล้ว การแก้ไขชื่อของนักกีฬาจะกระทำมิได้ และการกำหนดรุ่นตามน้ำหนักตัวจะกระทำได้โดยเลื่อนเข้าแข่งขันในรุ่นที่สูงขึ้นถัดไป 1 รุ่นได้ เมื่อดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับของสหพันธ์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว นักกีฬาจะเปลี่ยนไปลงแข่งขันในรุ่นที่ต่ำกว่ารุ่นซึ่งสมัครไว้แล้วไม่ได้ 1.4 ในการแข่งขันแต่ละรุ่น เลขานุการจัดการแข่งขันจะแบ่งนักกีฬาออกเป็นสองกลุ่ม หรือมากกว่าก็ได้ การแบ่งกลุ่มขึ้นอยู่กับสถิติเดิมที่นักกีฬาได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ 1.5 ในการประชุมทางเทคนิคต้องกำห...

กติกายกน้ำหนัก

รูปภาพ
กติกาการแข่งขัน  1.1 อนุญาตให้ใช้วิธีการจับคานยกโดนวิธีฮุคได้ ซึ่งวิธีจับแบบฮุคคือ กาจับคานยกโดยใช้นิ้วมือกดข้อปลาย หรือข้อสุดท้ายของหัวแม่มือในการจับคานยก  1.2 ในการยกทั้งสองท่า ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินว่าไม่ผ่าน ถ้าการยกนั้นไม่สำเร็จ โดยที่นักยกน้ำหนักได้ดึงคานยกขึ้นถึงระดับเข่าแล้ว  1.3หลังจากผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณลดคานลงพื้นแล้ว นักยกน้ำหนักต้องลดคานยกลงทางด้านหน้าของตน ห้ามทิ้งคานเหล็กลงไม่ว่าจะด้วยเจตนาหรือบังเอิญก็ตาม นักยกน้ำหนักจะคลายการจับได้ต่อเมื่อคานยกลงมาต่ำกว่าระดับเอวของตนแล้ว  1.4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดไม่สามารถเหยียดแขนให้ตรงสุดได้ เนื่องจากข้อบกพร่องทางสรีระ ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทั้งสามคน รวมทั้งกรรมการควบคุมการแข่งขันทราบก่อนเริ่มการแข่งขัน  1.5 ในขณะที่ทำการยกท่าสแนทช์หรือท่าคลีนจากท่านั่งงอเข่า นักยกน้ำหนักอาจช่วยการทรงตัว โดยการโยกหรือโคลงร่างกายของตนได้ 1.6 ห้ามใช้ไขมัน น้ำมัน น้ำ แป้ง หรือสิ่งอื่นใดที่คล้ายกันช่วยให้เกิดความลื่นที่หน้าขา เพราะนักยกน้ำหนักจะมีสิ่งช่วยความลื่นที่ขาไม่ได้ เมื่อเข้าไปถึงที่ทำการแข่งขัน นักยกน...

ท่าที่ใช้ในการแข่งขัน

รูปภาพ
1. ท่าสแนทช์                1.1 คานยกต้องวางอยู่ในแนวราบตรงหน้าแข้งของนักยกน้ำหนัก การจับคานยกต้องจับโดยการคว่ำฝ่ามือลงแล้วดึงขึ้นจากพื้นในจังหวะเดียว ให้แขนทั้งสองเหยียดตรงสุดอยู่เหนือศีรษะ ในขณะที่ขาทั้งสองข้างแยกออกจากกันหรืองอเข่าย่อตัวลง ในระหว่างการยกอย่างต่อเนื่องนั้น คานยกอาจเคลื่อนที่ฝ่ายหน้าขาหรือตักก็ได้และส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจะสัมผัสพื้นไม่ได้ นอกจากเท้าทั้งสองข้างเท่านั้น ตำแหน่งสุดท้ายในการยกด้วยท่าสแนทช์ แขนและขาต้องเหยียดตรง ปลายเท้าทั้งสองข้างต้องอยู่ในแนวเดียวกัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในลักษณะนี้จนกว่าผู้ตัดสินจะให้สัญญาณวางคานยกลงบนพื้นได้ การพลิกข้อมือจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ยกคานยกพ้นศีระษะไปแล้วเท่านั้น และนักกีฬาจะจัดท่ายืนใหม่จากท่ายืนแยกขา หรือท่าย่อตัวเพื่อให้เท้าทั้งสองอยู่ในแนวที่ขนานกับลำตัวและคานยกได้ภายในเวลาไม่จำกัด และผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณวางคานยกลงพื้นได้ในทันที เมื่อเห็นว่าทุกส่วนขอร่างกายนิ่ง 2. ท่าคลีนแอนด์เจอร์ค                 2.1 จังหวะที่ 1 การคลีน คานยกต้องวางอย...